วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เปิดมุมมอง Blended Learning การเรียนแบบผสมผสาน1

เปิดมุมมอง Blended Learning การเรียนแบบผสมผสาน
         ปัจจุบันการเรียนรู้เกิดได้หลากหลายรูปแบบ ที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งคือการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี ที่น่าสนใจหัวข้อหนึ่งก็คือ การเรียนแบบผสมผสาน Blended Learning ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ชื่อที่ถูกใช้เรียกในช่วงแรกของ Blended Learningก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เพื่อเน้นถึงจุดเด่นของวิธีการผสมผสานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้นเราอาจจะเคยได้ยินชื่ออื่นได้แก่ Hybrid Learning หรือ Mixed Learning หรือ Integrated Learning ซึ่งอย่างไรก็ตามยังบ่งบอกถึงความลงตัวและพัฒนาการในการเรียนแบบผสมผสานก็คือ การเรียนการสอนที่ผสมผสานร่วมกันระหว่างการเรียนแบบปกติหรือในชั้นเรียนกับการเรียนแบบออนไลน์ สถานการณ์จริงในการจัดกิจกรรมการเรียนโดยผ่านการวิเคราะห์สถานการณ์มาแล้ว โดยอยู่ภายใต้การแนะนำ และการประเมินผลโดยผู้สอน
การผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการสอนทุกรูปแบบกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิม
         Smith (2001) ให้นิยามของการเรียนบนเว็บแบบผสมผสาน ว่าเป็นการจัดการเรียนการ สอนทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ข้อความเสียง (voice mail) และการประชุมทางโทรศัพท์ เป็นต้น ผสมผสานกับจัดการศึกษาแบบดั้งเดิม (traditional education) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Coil and Moonen (2001) ที่กล่าวว่าการเรียนบนเว็บแบบผสมผสาน เป็นการผสมผสานระหว่าง   การเรียนแบบเผชิญหน้ากับการเรียนแบบออนไลน์เข้าด้วย กัน ซึ่งมีทั้งส่วนประกอบที่เป็นการเรียนในห้องเรียนและการเรียนแบบออนไลน์ โดยใช้จุดเด่นของการเรียนแบบออนไลน์เติมเต็มช่องว่างของการเรียนในห้อง เรียน และสอดคล้องกับแนวคิดของ Driscoll (2002) ให้นิยามของการเรียนบนเว็บแบบผสมผสาน ว่าเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีเทคโนโลยีการสอนในทุกรูปแบบ เช่น วีดิทัศน์ ซีดีรอม การเรียนการสอนบนเว็บ ภาพยนตร์ เข้ากับการเรียนแบบเผชิญหน้า (face-to-face) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learningโดย Beijing Normal University (BNU) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักดังนี้
1. ขั้นก่อนการวิเคราะห์ (Pre-Analysis) เป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบการเรียนรู้แบบ
ผสมผสาน ประกอบการพิจารณาข้อมูลทั่ว ๆ ไป ได้แก่
    1.1 การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้เรียน
    1.2 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้
    1.3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบผสมผสานผลลัพธ์ที่ได้จาก
ขั้นตอนแรกจะเป็นรายงานผลที่จะนำไปใช้ในขั้นต่อไป
2. ขั้นการออกแบบกิจกรรมและการออกแบบวัสดุการเรียนรู้ (Design of Activity and Resources) เป็นขั้นตอนที่สองที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรกมาออกแบบกิจกรรมและวัสดุ การเรียนรู้ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ได้แก่
    2.1 การออกแบบภาพรวมของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย
       - กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละหน่วยเรียน
       - กลยุทธ์การนำส่งบทเรียนในการเรียนรู้แบบผสมผสาน
       - ส่วนสนับสนุนการเรียนรู้แบบผสมผสาน
    2.2 การออกแบบกิจกรรมแต่ละหน่วยเรียนประกอบด้วย
      - นิยามผลการกระทำของผู้เรียน
      - กิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์
      - การจัดกลุ่มของกิจกรรมทั้งหมด
      - การประเมินผลในแต่ละหน่วยเรียน
   2.3 การออกแบบและพัฒนาวัสดุการเรียนรู้ประกอบด้วย
     - การเลือกสรรเนื้อหาสาระ
     - การพัฒนากรณีต่าง ๆ
     - การนำเสนอผลการออกแบบและการพัฒนาผลที่ได้จากขั้นตอนที่สอง จะเป็นรายละเอียดของการออกแบบบทเรียนในแต่ละส่วน
3. ขั้นการประเมินผลการเรียนการสอน (Instructional Assessment) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานประกอบด้วย
   3.1 การประเมินผลขั้นตอนการเรียนรู้
   3.2 การจัดการสอบตามหลักสูตร
   3.3 การประเมินผลกิจกรรมทั้งหมดผลที่ได้จากขั้นตอนสุดท้าย จะนำไปพิจารณาตรวจปรับกระบวนการออกแบบในแต่ละขั้นที่ผ่านมาทั้งหมด เพื่อให้การเรียนรู้แบบผสมผสานมีประสิทธิภาพและเกดประสิทธิผลกับผู้เรียน อย่างแท้จริง
ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learningโดย Beijing Normal University (BNU) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักดังนี้
1. ขั้นก่อนการวิเคราะห์ (Pre-Analysis) เป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบการเรียนรู้แบบ
ผสมผสาน ประกอบการพิจารณาข้อมูลทั่ว ๆ ไป ได้แก่
   1.1 การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้เรียน
   1.2 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้
   1.3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบผสมผสานผลลัพธ์ที่ได้จาก
ขั้นตอนแรกจะเป็นรายงานผลที่จะนำไปใช้ในขั้นต่อไป
2. ขั้นการออกแบบกิจกรรมและการออกแบบวัสดุการเรียนรู้ (Design of Activity and Resources) เป็นขั้นตอนที่สองที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรกมาออกแบบกิจกรรมและวัสดุ การเรียนรู้ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ได้แก่
   2.1 การออกแบบภาพรวมของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย
     - กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละหน่วยเรียน
     - กลยุทธ์การนำส่งบทเรียนในการเรียนรู้แบบผสมผสาน
     - ส่วนสนับสนุนการเรียนรู้แบบผสมผสาน
  2.2 การออกแบบกิจกรรมแต่ละหน่วยเรียนประกอบด้วย
     - นิยามผลการกระทำของผู้เรียน
     - กิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์
     - การจัดกลุ่มของกิจกรรมทั้งหมด
     - การประเมินผลในแต่ละหน่วยเรียน
  2.3 การออกแบบและพัฒนาวัสดุการเรียนรู้ประกอบด้วย
- การเลือกสรรเนื้อหาสาระ
- การพัฒนากรณีต่าง ๆ
- การนำเสนอผลการออกแบบและการพัฒนาผลที่ได้จากขั้นตอนที่สอง จะเป็นรายละเอียดของการออกแบบบทเรียนในแต่ละส่วน
3. ขั้นการประเมินผลการเรียนการสอน (Instructional Assessment) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานประกอบด้วย
    3.1 การประเมินผลขั้นตอนการเรียนรู้
    3.2 การจัดการสอบตามหลักสูตร
    3.3 การประเมินผลกิจกรรมทั้งหมดผลที่ได้จากขั้นตอนสุดท้าย จะนำไปพิจารณาตรวจปรับกระบวนการออกแบบในแต่ละขั้นที่ผ่านมาทั้งหมด เพื่อให้การเรียนรู้แบบผสมผสานมีประสิทธิภาพและเกดประสิทธิผลกับผู้เรียน อย่างแท้จริง

บทบาทของผู้สอนในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน Blended Learning
   1. ผู้สอนเป็นผู้วิเคราะห์ผู้เรียนว่าจะรวมวิธีการต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 วิธีหรือมากกว่า เช่น วิธีการสอนที่ใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นหลักกับการสอนแบบเดิม (face 2 face) โดยที่เริ่มต้นอธิบายรายวิชาโครงสร้างเนื้อหาหรือการแนะนำบทเรียน ดำเนินการตามด้วยการสอนแบบออนไลน์
   2. ผู้สอนมีบทบาทประมวลการสอนให้เหมาะสมรวมทั้งจะต้องสร้างสิ่งจูงใจในการเรียนและทักษะการใช้เทคโนโลยีให้ผู้เรียน โดยการเป็นผู้ช่วยผู้เรียนพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีอิสระ การเรียนการสอนแบบผสมผสานจึงต้องการให้ครู/ผู้สอนและผู้เรียนใช้เวลาในการปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวคิดการสอนแบบใหม่นี้

วิวัฒนาการของการเรียนแบบผสมผสาน Blended Learning

         วิวัฒนาการของการเรียนแบบผสมผสาน ในอดีตนั้นเป็นการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม คือ มีการเรียนแบบปกติและการเรียนแบบออนไลน์ที่แยกกันอย่างชัดเจน เนื่องจากขาดตัวกลางในการเชื่อมโยง เช่น นวัตกรรม เทคโนโลยีเป็นต้น และการสื่อสารระหว่างครูแบบนักเรียนยังเป็นแบบ face 2 face ส่วนในปัจจุบัน นวัตกรรม เทคโนโลยีต่างๆได้เริ่มมีวิวัฒนาการรวมถึงปรับปรุงระบบจัดการได้ดี เป็นผลให้การเรียนการสอนแบบออนไลน์สามารถตอบโจทย์ของการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ส่วนผสมแบบออนไลน์จึงเพิ่มมากขึ้นจากในอดีต และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในอนาคต แต่ก็ยังไม่มีทิศทางว่าจะแทนการสอนแบบดั้งเดิมเสียทีเดียว ยังคงเป็นสัดส่วนที่ให้ความสำคัญทั้งการเรียนแบบดั้งเดิมและการเรียนแบบออนไลน์


ความเป็นไปได้ในการไปใช้งานจริงของ Blended Learning
การใช้งานจริง ณ ปัจจุบัน ในองค์กร หรือบริษัท โดยมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระบบเครือข่าย นิยมใช้ระบบ LMS เป็นระบบการบริหาร ผ่าน Sever เป็นระบบเครือข่ายผู้ใช้งานในระบบ
    1. กลุ่มผู้บริหาร Administrator ทำหน้าที่ดูแลระบบ
    2. กลุ่ม ครู อาจารย์ Instructor/ teacher ทำหน้าที่สอน
    3. กลุ่มผู้เรียน Student /Guest นักเรียน นักศึกษา
อุปสรรคของการเรียนการสอนแบบผสมผสานหรือกึ่งออนไลน์ (Blended Learning)
    1. ผู้สอนและผู้เรียนบางคนมีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีน้อย
    2. ผู้สอนบางคนยังคงยึดติดกับการสอนในรูปแบบเดิมๆ นั่นคือการสอนในชั้นเรียนปกติ
    3. ความเร็วของอินเทอร์เน็ต และคอมพิวเตอร์

        การเรียนการสอนแบบผสมผสาน Blended Learning เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานหลากหลายวิธีเข้าด้วยกันโดยมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ และเพื่อผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้และตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะ ด้านการปฏิบัติ(Practice Skill)โดยใช้เทคโนโลยี เช่น การเรียนการสอนในชั้นเรียนร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์
(a combination of face-to-face and Onine Learning) การจัดผลการเรียนรู้ 6 ขั้นของบลูม(Bloom) ได้แก่ ขั้นความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประมาณค่า สตอรี่ไลน์ จุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่ผู้เรียน โดยอัตราส่วนการผสมผสานขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ผู้เรียนอย่างเป็นระบบของผู้สอนนั้นเอง

เอกสารอ้างอิง
เขมณัฏฐ์ อำนวยวรชัย, ตรีวิทย์ พิจิตรพลากาศ, ปณวัฒน์ วัฒนวิทย์ และศุภจิต รัตนมณีฉัตร.
             (ม.ป.ป). Online Learning และ Blended Learning. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2554,
             จาก http://pirun.ku.ac.th/~g521765053/report1g2.pdf
บุญมา หลิมลำยอง. (ม.ป.ป). Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม
             2554, จากhttp://bunmamint10.blogspot.com/
             ปรียา สมพืช. (14 กรกฎาคม 2552). องค์ประกอบของการเรียนการสอนแบบผสมผสาน.        สืบ    ค้นเมื่อ22 มีนาคม 2554, จาก http://gotoknow.org/blog/blended/276465

1 ความคิดเห็น: